การฝังเข็มสามารถแก้โรคภัยได้จริงหรือไม่ ?

 การฝังเข็ม ศาสตร์รักษาแบบแพทย์แผนจีน สามารถแก้โรคภัยได้จริงหรือไม่ ?

 

 

การฝังเข็มสามารถแก้โรคภัยได้จริงหรือไม่ ?

 

การฝังเข็ม เวชกรรมที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เป็นศาสตร์การรักษาโรคที่มีมายาวนานกว่า 4,000 ปี มีวิธีการรักษาในลักษณะแทงเข็มลงไปบนร่างกายตามจุดฝังเข็ม เรียงในแนวเส้นลมปราณ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย เพราะเข็มที่ใช้มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไป 6-8 เท่า จึงช่วยปรับสมดุลร่างกายและระบบหยินหยางในตัวเราให้อยู่ในระดับปกติ และกระตุ้นสารชีวเคมีในร่างกายให้หลั่งออกมามากกว่า 35 ชนิด ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายและเฉพาะจุด (แล้วแต่ตำแหน่งที่ฝัง) ช่วยลดอาการอักเสบ อาการเจ็บปวด เสริมสร้างภูมิต้านทาน รวมถึงช่วยปรับระดับไขมันและสารเคมีอื่นๆ ในร่างกายได้เช่นกัน

 

ในปัจจุบันวิธีรักษาโรคด้วยการฝังเข็มถูกแพร่หลายไปยังหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองก็เป็นที่นิยม และยังได้รับความสนใจจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จนถึงขั้นให้การรับรองว่าการฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้จริง นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการและโรคประมาณ 43 ประเภทด้วยกัน อาทิ โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ อาการผื่นคันตามร่างกาย, โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ, อัมพฤกษ์ อัมพาต, กลุ่มอาการปวดเมื่อยต่างๆ ตามร่างกาย, อาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ปวดประจำเดือน รวมถึงช่วยรักษาในลักษณะที่คนไข้ต้องการเลิกบุหรี่ ยาเสพติด และลดความอ้วนได้อีกด้วย ซึ่งบางอาการที่กล่าวไปอาจต้องรักษาร่วมกับศาสตร์เฉพาะทางอื่นๆ โดยต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป

 

ระยะเวลาของการฝังเข็มรักษาโรคจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ และพื้นฐานของร่างกายผู้ป่วยเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วจะนิยมฝังสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตามระดับความรุนแรงของอาการนั่นเอง

 

การฝังเข็มเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน ? 

ศาสตร์รักษาโรคประเภทนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือผู้ป่วยที่ไม่มีความต้องการรับยาเข้าสู่ร่างกาย เพราะในผู้ป่วยบางรายอาจเคยมีประวัติแพ้ยา มีโรคประจำตัวหลายประเภท จึงต้องเลี่ยงการรับประทานยาในปริมาณมาก ป้องกันการทำปฏิกิริยาต่อกันของยา อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ป่วยที่เสพติดการรับประทานยารักษาโรคเป็นประจำ หยุดยาไม่ได้ และผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโรคแบบผสมผสานระหว่างแพทย์แผนตะวันตกกับการฝังเข็ม รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการดูแลสุขภาพโดยการค่อยๆ ปรับสมดุลในร่างกาย เป็นต้น

 

แต่จะเห็นได้ว่าการฝังเข็มยังไม่สามารถรักษาได้ทุกโรคทางการแพทย์ และไม่ได้เป็นวิธีรักษาที่เหมาะสมกับทุกคน โดยเฉพาะสตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดอย่างแน่นอน ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ และถ้าหากใครยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการเสียก่อน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจตามมาหลังการรักษา

 

การเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม ควรรับประทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการเริ่มฝังประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพราะในขณะที่กำลังทำการรักษา ถ้าผู้ป่วยรู้สึกหิวมากๆ หรือรู้สึกอ่อนเพลีย อาจมีความเสี่ยงให้เป็นลมได้ ที่สำคัญอย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 6-8 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ และควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้รู้สึกอึดอัดจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวกได้

 

โดยสรุปแล้ว การฝังเข็มเป็นการรักษาโรคที่เน้นปรับสมดุลให้ร่างกาย ด้วยการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปทั่วเรือนร่างแบบองค์รวม รวมถึงการรักษาเฉพาะจุดก็ได้เช่นกัน และถึงแม้ว่าในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) จะรับรองว่าการวิธีนี้สามารถรักษาโรคได้จริง แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดคือไม่ได้รักษาให้หายขาดได้ทุกโรค ดังนั้นก่อนการตัดสินใจรักษาด้วยวิธีนี้ จึงควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการของโรคก่อน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของตัวคนไข้

 

ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ บางโรคสามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม ทานยา หรือบำบัดได้ แต่บางโรคอาจมีความเป็นอันตรายมาก และจำเป็นต้องใช้ค่ารักษาค่อนข้างสูง การมีประกันสุขภาพติดตัวเอาไว้จึงเป็นการลดความเสี่ยงทั้งในเรื่องสุขภาพร่างกายและค่าใช้จ่ายในเวลาเดียวกัน 

 

เราจึงขอแนะนำให้รู้จักกับ Rabbit Care แหล่งรวม ‘ประกันสุขภาพ’ จากหลากหลายบริษัทชั้นนำที่มีแผนความคุ้มครองให้เลือกมากมาย อาทิ เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลโรคทั่วไป โรคร้ายแรง โรคมะเร็ง ค่าห้องโรงพยาบาล ชดเชยรายได้ และแผนประกันสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย คุณสามารถเข้ามาเลือกชมแผนประกันที่เหมาะกับตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://rabbitcare.com/ หรือโทร. 1438 ฝ่ายบริการลูกค้าที่พร้อมดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง 

Leave a Reply